เงินไม่มี แต่มีทรัพย์สิน ชีวิตไม่สิ้นหนทางไปต่อ

“เศรษฐกิจแย่ เงินหมุนเวียนไม่พอ จะทำอะไรยังไงดี”
“หนี้เก่าก็มี หนี้ใหม่ก็มา จัดการไม่ได้ มีแต่ปัญหา”
“อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ทำยังไงดี ไม่มีเงินก้อน”

คำพูดข้างบนนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย แน่นอนว่ายิ่งตอนที่เศรษฐกิจไม่ดีนั้นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะว่าเราทุกคนรู้ว่าสิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ “สภาพคล่อง” ในการใช้ชีวิต

ทำไมคนถึงต้องการ “สภาพคล่อง” 

จะพูดว่าเรื่องนี้ผิดที่ใคร จริงๆแล้วมันก็มองได้หลายมุม ตั้งแต่ความประมาทของตัวเองที่ไม่มีเงินฉุกเฉิน และความผิดพลาดของเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้น แม้จะเตรียมตัวแค่ไหนก็ไม่สามารถต่อสู้ไหวก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของธุรกิจที่เจอพิษเศรษฐกิจ ยอดขายไปได้ ลูกค้าเติบโต แต่ไม่มีเงินหมุุนเพียงพอ แบบนี้ธุรกิจที่ดูเหมือนจะมีโอกาสไปต่อก็อาจจะล้มครืนได้ในพริบตา เช่นเดียวกันกับธุรกิจที่มีปัญหา อยากจะแก้ไขหนี้ที่ค้างคา เพื่อให้พ้นวิกฤตไปได้ หรือสาเหตุอีกตั้งมากมายที่ถือว่ามีความจำเป็นต้องใช้ “เงินก้อน”

ในปัจจุบันทางเลือกในการหาเงินก้อนนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การกู้เงินในรูปแบบต่างๆ วงเงินชั่วคราว ระยะยาว ถาวร หรือตามประเภทของหนี้ที่ต้องการ หรือแม้แต่การขอเพิ่มทุนสำหรับธุรกิจ เพื่อกระจายสิทธิความเป็นเจ้าของให้คนอื่นได้เข้ามามีส่วนร่วม

ซึ่งหนทางหนึ่งในนั้น คือ “การขายฝาก” หรือที่รู้จักกันดีในการทำสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่งซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ขายนั้น สามารถนำเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินของตนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด

นั่นคือ ถ้าหากเราต้องการเงินมาใช้ในธุรกิจ แล้วมีทรัพย์สิน เช่น ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ ก็สามารถนำมาขายฝากให้กับผู้ที่รับซื้อฝากได้ โดยกำหนดเงื่อนไขในการไถ่ถอนตามที่สะดวก เช่น 1 ปี เพื่อเป็นการรับรองว่าหลังจากพ้นปัญหานี้ไป เราจะรีบมาไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้รับซื้อฝากก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมาในรูปแบบที่คล้ายๆกับดอกเบี้ย เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ทั้งคู่ คนนึงมีเงิน คนนึงมีทรัพย์สิน เอามาแลกเปลี่ยนกันเพื่ิอสร้างประโยชน์ให้แก่กันและกัน

ปัจจุบันทาง ZAZZET เองก็เป็นตัวแทนหนึ่งในการจัดการเรื่องการขายฝาก ซึ่งรายละเอียดและเงื่อนไขการใช้นั้น สามารถดูได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.zazzet.com/ 

แต่เขาว่าขายฝากมันไม่ดีไม่ใช่หรอ? โดนเอาเปรียบตั้งเยอะ?

เนื่องจากการ ขายฝาก นั้น ทำให้กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ถึงแม้ว่าจะปล่อยให้ผู้ขายฝากมีโอกาสไถ่คืนภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่จากข่าวคราวต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้หลายคนมองว่าการขายฝากมักจะเป็นช่องทางที่ใช้ “หลอก” ผู้ที่ไม่รู้กฎหมาย

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มนายทุนหรือเจ้าหนี้ธุรกิจเงินกู้นอกระบบอาศัยความไม่รู้กฎหมายของผู้ขายฝาก หาวิธีการบ่ายเบี่ยงหรือหลบหน้าไม่ให้มีโอกาสไถ่ทรัพย์คืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เพื่อที่จะได้ฉวยโอกาสยึดทรัพย์มาเป็นของตนเองโดยสมบูรณ์

จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า ธุรกิจการขายฝากนั้นเป็นธุรกิจที่เอาเปรียบผู้ขายฝาก แต่จริงๆแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงการกระทำของมิจฉาชีพกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ซึ่งถ้าหากผู้ขายฝากมีความรู้และความเข้าใจในกฎหมาย ก็สามารถรับมือได้ไม่ยาก ผ่านการวางทรัพย์สำนักงานบังคับคดีจังหวัดภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาขายฝาก เพียงแค่นี้ก็ปิดโอกาสที่จะเสียผลประโยชน์ไปได้อย่างง่ายๆ 

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนเอาทรัพย์สินไปขายฝาก

สุดท้ายแล้วสิ่งที่จำเป็นในการพิจารณาจริงๆก่อนนำทรัพย์สินไปขายฝาก ประกอบด้วยเรืองง่ายๆเพียง 3 ข้อที่ต้องเช็กให้ดี ดังนี้

  1. ความเข้าใจด้านกฎหมายขายฝาก : สำหรับตัวผู้ขายฝากเอง สิ่งที่ต้องทราบนั้นคือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขายฝาก ทั้งเรื่องของสิทธิประโยชน์ ข้อห้าม หรือวิธีการไถ่ถอนทรัพย์สินต่างๆ 
  2. มูลค่าของทรัพย์สินที่ขายฝาก : ถ้าหากคิดจะขายฝากทั้งที สิ่งที่ต้องมีอย่างเหมาะสมคือ มูลค่าของทรัพย์สินที่นำไปขายฝาก เนื่องจากราคาที่ได้นั้นต้องสอดคล้องและยุติธรรมทั้งทางฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งตรงนี้จะได้ไม่มีผู้ใดเสียเปรียบแก่ใคร
  3. ความสามารถในการซื้อคืน : เรื่องสุดท้ายคือสิ่งสำคัญ ถ้าหากเราต้องการขายฝากเพื่อนำเงินไปหมุนเวียนหรือจัดการสภาพคล่อง อง สิ่งทีต้องรู้คือ ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาขายฝากนั้น เราสามารถจัดการการเงินได้ลุล่วงหรือเปล่า รวมถึงการขยายระยะเวลาของสัญญาตามที่ตกลงกับผู้ซื้อฝากไว้หากรู้ตัวว่าจะไม่สามารถนำเงินมาไถ่ถอนคืนได้ตามระยะเวลาที่ทำสัญญา ตรงนี้คือสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี หากวัตถุประสงค์ที่มี คือ การที่เราไม่ต้องการจะให้ทรัพย์สินตกเป็นของคนอื่นนั่นเอง


Leave a Reply

หากสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ให้ทางเราติดต่อกลับทางโทรศัพท์หรือไลน์
ส่งข้อมูล
ทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 1 ชม. ทำการ
close-link